รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้นๆว่าโทโพโลยีเป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไรเพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกันดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไรรวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยีและโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
- โทโพโลยีแบบบัส
- โทโพโลยีแบบดาว
- โทโพโลยีแบบวงแหวน
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียวที่เรียกว่าBUSทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminatorไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงานก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย
- สามารถติดตั้งได้ง่ายเนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
- การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
- ประหยัดค่าใช้จ่ายกล่าวคือใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่าเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
- ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบโดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่างๆออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่าFileServerแต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลางไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกันเมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่นๆปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์HUBเป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
ง่ายต่อการใช้บริการเพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น
ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมากเพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลการขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมาถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบโดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถานสุดท้ายการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานีโดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานีต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาวเหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้นและยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น